เกี่ยวกับบูจินกัน

บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ประกอบไปด้วย ศิลปะการต่อสู้จากเก้าสายวิชาโบราณโดยหกสายวิชาเป็นศิลปะ การต่อสู้ของซามูไร และอีกสามสายวิชาเป็นการต่อสู้ในแบบ ของนินจุสสุ โรงฝึกบูจินกันก่อตั้งข้ึนโดยอาจารย์ มะซะอะกิ ฮะซึมิ ปัจจุบันโรงฝึกหลักอยู่ที่เมืองโนดะ จังหวัดจิบะ ประเทศ ญี่ปุ่น

วิชาทั้ง 9 ริวของบูจินกัน

1. Togakure-ryu Ninpo Happo Biken ถูกก่อตั้งประมาณกลางยุค 1100 โดย Daisuke Nishina

เป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดอันดับที่สองของบูจินกัน โดดเด่นในเรื่องของนินจุสสึ และ การใช้อาวุธเช่น Shuko,, Shuriken ในบางตำราเชื่อว่าเป็นวิชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับของอิกะ เนื่องจากในผู้สืบทอดของโตกาคุเระ ริวมีหลายท่านที่มาจากตระกูลนินจาที่อยู่ในหุบเขาของอิกะ เช่น ตระกูลอิกะ ตระกูลอูเอโน และ ตระกูลโทดะ (อาจารย์ทากามัสซึเป็นเชื้อสายคนสุดท้ายของตระกูลโทดะ)

2. Gyokko-ryu Kosshijutsu Happo Biken ถูกก่อตั้งประมาณกลางยุค 1100 โดย Tozawa Hakuunsai

เป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดของบูจินกัน เป็นที่รู้จักกันจากการถูกนำมาฝึกเป็นพื้นฐานของบูจินกันด้วยโดยเฉพาะ Kihon Happo ที่เป็นแก่นของบูจินกัน โดยอาจารย์หลายท่านกล่าวว่า Kihon Happo นี่เองที่เป็นรากฐานของศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น

3. Kukishin-ryu Taijutsu Happo Biken ถูกก่อตั้งขึ้นในกลางยุค 1300 โดย Izumo Kanja Yoshitero

เป็นหนึ่งในวิชาที่มีเนื้อาวิชาจำนวนมาก ทั้งด้านการต่อสู้มือเปล่า ในด้านการใช้อาวุธต่าง ๆ และ เทคนิคการต่อสู้ในชุดเกราะทั้งตัว คุคิชิน ริว เองก็ยังมีสาขาแยกย่อยออกไปอีกมาก ที่ไม่เกี่ยวข้องกับบูจินกัน นอกจากนี้วิชาคุคิชิน ริว ในอดีต ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาการต่อสู้อื่น ๆ อย่างเช่น อาจารย์ฮุเอชิบาของไอคิโดก็เคยฝึกเทคนิคการใช้พลองกับคุคิชิน (ไม่ใช่สายเดียวกับบูจินกัน) หรือ อาจารย์จิโกโร คาโน ก็ได้เรียนท่าฮิซ่า กุรุมา มาจากอาจารย์ทากามัสซึ

4. Shindenfudo-ryu Dakentaijutsu Happo Biken ถูกก่อตั้งในปลายยุค 1100 โดย Izumo Kaja Yoshitero

มีชื่อเสียงในด้าน Dakentaijutsu และ เทคนิคการใช้ร่างกาย ชินเด็นฟุโดริวจะใช้ร่างกาย การเคลื่อนไหวมากกว่ากำลัง หัวใจ ของชินเดน ฟุโดริวก็คือการเข้าใจถึงธรรมชาติ เป็นหนึ่งในวิชาที่อยู่ในระดับสูงของบูจินกัน

5. Gyokushin-ryu Ninpo Happo Biken ถูกก่อตั้งขึ้นประมาณยุค 1500 โดย Sasaki Goemon Teruyoshi

เป็นวิชานินจุสสึโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับโตคากุเระริว ไม่ถูกแยกออกมาพูดถึงมากนัก ที่เห็นเด่นชัดก็คือการใช้ Kusari fundo นอกจากนั้นในวิชาที่เกี่ยวข้องกันอาจารย์มาซึอะกิ ยังได้รับ Menkyo Kaiden ของ Gyokushin-ryu Koppou-jutsu จากอาจารย์อูเอโน ทาคาชิ ผู้สืบทอดลำดับที่สิบสี่ของ Gyokushin-ryu Koppou-jutsu ก่อนที่จะได้พบอาจารย์ทากามัสซึอีกด้วย

6. Koto-ryu Koppojutsu Happo Biken ถูกก่อตั้งขึ้นกลางยุค 1500 โดย Sakagami Taro Kunishige
มือชื่อเสียงในเรื่องของ การจู่โจมจุดอ่อน การจู่โจมกระดูก และ วิธีการใช้ดาบ เป็นหนึ่งในวิชาที่มีชื่อเสียงของนินจา ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซันดายุ โมโมชิ(Sandayu Momochi) หนึ่งในผู้สืบทอดของ Koto ryu และ Gyokko ryu เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำกลุ่มนินจาที่เข้าปกป้องหมู่บ้านจากการกวาดล้างหมู่บ้านนินจาของโอดะ โนบุนากะ

7. Gikan-ryu Koppo Taijutsu Happo Biken ถูกก่อตั้งขึ้นกลางยุค 1500 โดย Uryu Hangan Gikanbo

เป็นที่รู้จักกันในเรื่องการตั้งท่าที่ใช้ในไทจุสสึ และ Koppojutsu
ในความสัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ นั้น ผู้สืบทอดลำดับที่สิบสี่ของกิคัน ริว ชื่ออะกิโมโต ฟุมิโอะได้สอนท่าการโจมตีและการเตะ ให้กับ “มิฟุเนะ” ของโคโดกัน ซึ่งถูกตัดออกไป จากการใช้แข่งขันในภายหลัง (ยังพอหาดูได้จากตำราโบราณ)

8. Takagiyoshin-ryu Jutaijutsu Happo Biken ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นยุค 1600 โดย Takagi Oriuemon Shigenobu

โดดเด่นในเรื่องของเทคนิคยูยิสสู ที่รวดเร็ว รุนแรง การโจมตีจุดอ่อนและเรื่อง Daisho sabaki เป็นเทคนิคการใช้ดาบ นอกจากนี้โดนเด่นในเรื่องการป้องกันตัว การต่อสู้ด้วยมือเปล่ากับมือเปล่า การต่อสู้ด้วยมือเปล่ากับอาวุธ การต่อสู้จากท่านั่ง
เป็นเทคนิคการต่อสู้ของซามูไร

9. Kumogakure-ryu Ninpo Happo Biken ถูกก่อตั้งในกลางยุค 1500 โดย Iga Heinaizaemon No Jo Ienaga

ถูกแสดงออกมาโดยมากในเรื่อง Kamayari และ เทคนิคการกระโดด
คำว่า “Shikin Haramitsu Daikomyou” มาจาก คุโมกาคุเระ ริว นี่เอง

เกี่ยวกับโรงฝึกบูจินกัน โอนิ (หลักสี่) โดโจ

โรงฝึกบูจินกัน โอนิ (หลักสี่) โดโจ เปิดทำการฝึกสอนในฐานะกลุ่มฝึกบูจินกัน หลักสี่ ภายใต้ความดูแลของ โรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2556 และในวันที่ 3 มีนาคม 2558 ครูฝึกได้ผ่านการทดสอบ Sakki Test ณ ประเทศญี่ปุ่นและได้รับอนุญาตให้เปิดโรงฝึกได้อย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยอาจารย์มะซะอะกิ ฮะซึมิ ได้มอบชื่อโรงฝึกว่า Oni (鬼 อันมีความหมายว่า “ยักษ์”) Dojo ในวันที่ 6 มีนาคม 2558 โรงฝึกบูจินกัน โอนิ (หลักสี่) โดโจ ยังคงเป็นโรงฝึกเครือข่ายของโรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย

การเข้าฝึก

เปิดรับผู้สนใจทั้งหญิงและชาย ที่สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ตั้งแต่อายุ 15 ปี ขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีอายุตำ่กว่า 18 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองด้วย

สำหรับผู้ต้องการเข้าฝึกใหม่
สำหรับผู้เริ่มต้นครั้งแรก สามารถร่วมฝึกซ้อมได้ตามวันเวลาที่มีการฝึก
โดยจะต้องนำชุดลำลองมาด้วย (กางเกงวอร์ม เสื้อยืด) สำหรับผู้มีชุดฝึกอื่น ๆ สามารถนำมาใช้ก่อนได้ สามารถเริ่มต้นการฝึกได้ทุกวันโดยไม่ต้องรอต้นเดือน

การฝึกจะประกอบไปด้วย

  • Junan Taiso , Ukemi การวอร์มร่างกาย และ การล้ม
  • Sanshin no kata , Kihon Happo และ Henka
  • เทคนิคการใช้อาวุธ (Budogu)
  • เทคนิคต่าง ๆ จาก Tenchijin Ryaku No Maki
  • อื่น ๆ

หมายเหตุ
ผู้ที่ต้องการฝึกหากมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี จะต้องได้รับอนุญาติจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
รับแบบฟอร์มได้จากที่โรงฝึก ทุกวันและเวลาที่มีการฝึก ตารางการฝึก
ผู้เข้าฝึกจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกของบูจินกัน โดยจะได้รับบัตรประจำตัวจากประเทศญี่ปุ่น

ตารางเรียน
  เปิดสอนทุกวันพฤหัส เวลา 19.00-21.00
อัตราค่าธรรมเนียมการฝึก ครั้งละ 300 บาท

ผู้ฝึกสอน

DSC04550

ธีรวัฒน์ อิสสริยะกุล
สายดำระดับแปด
บูจินกัน บูโด ไทจุสสึ