แนวคิด

3 แนวคิด กับ บูจินกัน และโรงเรียนทางเลือก

วันนี้ผมได้มีโอกาสไปฟังการบรรยายเรื่องการศึกษาแนววอลล์ดอล์ฟ ซึ่งเน้นการเรียนรู้ชีวิตมากว่าการเรียนในห้องเรียน (การเรียนแผนปัจจุบัน) วิทยากรได้กล่าวถึงแนวคิดอยู่ 3 ข้อ ซึ่งผมคิดว่ามีส่วนคล้ายกับการฝึกวิชาของบูจินกัน 1. การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอในบูจินกัน การเรียนในระบบวอลล์ดอล์ฟนั้นจะไม่เหมือนการเรียนในระบบสามัญ ซึ่งทุกอย่างจะอยู่ในกรอบ เป็นเรียนตามตำราไปทีละบท มีการสอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน หากสอบผ่านก็จะเลื่อนชั้นขึ้นไป แต่การเรียนในระบบวอลล์ดอล์ฟนั้น ไม่เน้นการสอบแต่เน้นการให้เด็กเรียนรู้ให้เหมาะกับวัยตัวเอง เพื่อให้เด็กก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่แข็งแรง เด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการต่างกัน บางคนอาจจะอยู่ชั้น 1 เป็นเวลานาน จึงจะผ่านไปถึงชั้น 2 แต่อาจจะข้ามไปชั้น 3 อย่างรวดเร็ว และอาจจะอยู่ชั้น 3 สักพักก่อนจะข้ามไปชั้น 4 …

ไปญี่ปุ่นเพื่อ “ฝึก” บูจินกัน

“บูจินกันเป็นศิลปะต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น หากเป็นไปได้ผู้ฝึกควรจะเดินทางไปฝึกที่ญี่ปุ่น” นี่เป็นคำพูดที่อาจารย์และผู้ฝึกระดับสูงหลายๆท่านมักจะกล่าวอยู่เป็นประจำ ข้อดีของการไปฝึกที่ญี่ปุ่นมีหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการที่ได้ฝึกกับอาจารย์มะซะอะกิโดยตรง ได้รู้จักต้นกำเนิดของวิชา ได้รู้ว่าเขาฝึกกันอย่างไร ได้ “เทน้ำออกจากแก้ว” เพื่อที่จะรับความรู้และทักษะใหม่ๆ และยังมีข้อดีอื่นๆอีกมากมาย ไปญี่ปุ่นทำไม เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมได้อ่านบทความของผู้ฝึกระดับสูงท่านหนึ่ง ท่านรู้สึกว่าอาจมีผู้ฝึกหลายๆคน ที่ไม่ได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อทำการฝึกเป็นหลัก แต่เดินทางไปเพื่อเลื่อนสาย หรือแนะนำตัวเองให้ผู้ฝึกระดับสูงหลายๆ ท่านได้รู้จัก ฟังดูแล้วเหมือนจะไม่เสีหายอะไร แต่ผมคิดว่าการเลื่อนสายและการทำความรู้จักไม่ควรจะเป็นจุดประสงค์หลักที่เราเดินทางไปญี่ปุ่น ประสบการณ์ตรงจากการไปฝึกบูจินกันที่ญี่ปุ่น ในการเดินทางไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่นครั้งล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (ปี 2559) ผมรู้สึกตื่นเต้นเหมือนทุกครั้งที่จะได้เดินทางไปฝึกกับอาจารย์มะซะอะกิซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน และจะได้ฝึกกับอาจาย์ชิระอิชิ ซึ่งเป็นอาจารย์ของอาจารย์ผมอีกทีหนึ่ง ผมคิดว่าอาจจะดีหากอาจารย์มะซะอะกิ เลื่อนสายให้ผมในการเดินทางของผมในครั้งนี้ แต่ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก …