บทความ

คำกล่าวในบูจินกัน “Ten Thousand Changes, No Surprise”

คำกล่าวของ อ.มะซะอะกิ ฮัทซึมิ อาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน   ประโยคนี้เป็นประโยคที่ อ.มะซะอะกิ อาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน ได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ในการสอน ประโยคนี้ถ้าแปลตรงตัว ก็จะหมายความว่า “การเปลี่ยนแปลงนับหมื่น ก็ไม่ทำให้รู้สึกตระหนก” ประโยคนี้ฟังดูแล้วยาก บางคนอาจสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือเปล่า ต้องเป็นยอดมนุษย์เท่านั้นถึงจะทำได้กระมัง อันที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ และเราก็ทำมันอยู่เป็นประจำ ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ คนเรามักไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง แต่ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราได้พบเห็นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสภาพจากหลับไปเป็นตื่น จากเดินเป็นหยุดเดิน หรือการหายใจเข้าเป็นหายใจออก อย่างที่หลักไตรลักษณ์ข้อแรกในพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น “อนิจจัง” หรือ “ไม่เที่ยง” สิ่งเดียวที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือความเปลี่ยนแปลง …

บูจินกัน โอนิ โดโจ (หลักสี่): ตารางและค่าธรรมเนียมการฝึกในเดือนกันยายน 2560 (Sept 2017)

ในเดือนกันยายน 2560 บูจินกัน โอนิ โดโจ จะเปิดสอนตามตารางดังนี้ โรงฝึกจะเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการฝึกติดต่อกัน 4 คร้ังดังนี้ สำหรับนักเรียน 500 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป 700 บาท ผู้สนใจเข้าร่วมการฝึกสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://bujinkan-onidojo.com/?page_id=23 * ค่าฝึกเฉพาะบูจินกัน โอนิ โดโจ สำหรับค่าฝึกที่อื่น ขอให้ติดต่อกับโรงฝึกโดยตรง * ผู้เข้าฝึกควรเข้าฝึกสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ โรงฝึกไม่มีนโยบายการชดเชยการฝึกสำหรับผู้เข้าฝึกที่ขาดการฝึก

3 แนวคิด กับ บูจินกัน และโรงเรียนทางเลือก

วันนี้ผมได้มีโอกาสไปฟังการบรรยายเรื่องการศึกษาแนววอลล์ดอล์ฟ ซึ่งเน้นการเรียนรู้ชีวิตมากว่าการเรียนในห้องเรียน (การเรียนแผนปัจจุบัน) วิทยากรได้กล่าวถึงแนวคิดอยู่ 3 ข้อ ซึ่งผมคิดว่ามีส่วนคล้ายกับการฝึกวิชาของบูจินกัน 1. การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอในบูจินกัน การเรียนในระบบวอลล์ดอล์ฟนั้นจะไม่เหมือนการเรียนในระบบสามัญ ซึ่งทุกอย่างจะอยู่ในกรอบ เป็นเรียนตามตำราไปทีละบท มีการสอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน หากสอบผ่านก็จะเลื่อนชั้นขึ้นไป แต่การเรียนในระบบวอลล์ดอล์ฟนั้น ไม่เน้นการสอบแต่เน้นการให้เด็กเรียนรู้ให้เหมาะกับวัยตัวเอง เพื่อให้เด็กก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่แข็งแรง เด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการต่างกัน บางคนอาจจะอยู่ชั้น 1 เป็นเวลานาน จึงจะผ่านไปถึงชั้น 2 แต่อาจจะข้ามไปชั้น 3 อย่างรวดเร็ว และอาจจะอยู่ชั้น 3 สักพักก่อนจะข้ามไปชั้น 4 …

ไปญี่ปุ่นเพื่อ “ฝึก” บูจินกัน

“บูจินกันเป็นศิลปะต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น หากเป็นไปได้ผู้ฝึกควรจะเดินทางไปฝึกที่ญี่ปุ่น” นี่เป็นคำพูดที่อาจารย์และผู้ฝึกระดับสูงหลายๆท่านมักจะกล่าวอยู่เป็นประจำ ข้อดีของการไปฝึกที่ญี่ปุ่นมีหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการที่ได้ฝึกกับอาจารย์มะซะอะกิโดยตรง ได้รู้จักต้นกำเนิดของวิชา ได้รู้ว่าเขาฝึกกันอย่างไร ได้ “เทน้ำออกจากแก้ว” เพื่อที่จะรับความรู้และทักษะใหม่ๆ และยังมีข้อดีอื่นๆอีกมากมาย ไปญี่ปุ่นทำไม เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมได้อ่านบทความของผู้ฝึกระดับสูงท่านหนึ่ง ท่านรู้สึกว่าอาจมีผู้ฝึกหลายๆคน ที่ไม่ได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อทำการฝึกเป็นหลัก แต่เดินทางไปเพื่อเลื่อนสาย หรือแนะนำตัวเองให้ผู้ฝึกระดับสูงหลายๆ ท่านได้รู้จัก ฟังดูแล้วเหมือนจะไม่เสีหายอะไร แต่ผมคิดว่าการเลื่อนสายและการทำความรู้จักไม่ควรจะเป็นจุดประสงค์หลักที่เราเดินทางไปญี่ปุ่น ประสบการณ์ตรงจากการไปฝึกบูจินกันที่ญี่ปุ่น ในการเดินทางไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่นครั้งล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (ปี 2559) ผมรู้สึกตื่นเต้นเหมือนทุกครั้งที่จะได้เดินทางไปฝึกกับอาจารย์มะซะอะกิซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน และจะได้ฝึกกับอาจาย์ชิระอิชิ ซึ่งเป็นอาจารย์ของอาจารย์ผมอีกทีหนึ่ง ผมคิดว่าอาจจะดีหากอาจารย์มะซะอะกิ เลื่อนสายให้ผมในการเดินทางของผมในครั้งนี้ แต่ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก …

ในบูจินกัน ลูกศิษย์ (Deshi;弟子) แตกต่างจากนักเรียน (Gakusei; 学生) อย่างไร

 ลูกศิษย์ (Deshi;弟子) กับนักเรียน (Gakusei; 学生)       Deshi (弟子) เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า ลูกศิษย์ หรือ disciple ซึ่งแตกต่างจากคำว่า นักเรียน หรือ student จะตรงกับคำว่า Gakusei (学生) ในภาษาญี่ปุ่น ถ้าดูกันตามรากศัพท์แล้ว คำว่า Deshi ประกอบด้วยอักษรคันจิ 2 ตัว คือ 弟 ซึ่งแปลว่า น้องชาย …

เมื่อถึงเวลา…คุณจะเข้าใจ

หากมองแบบผิวเผินแล้ว การฝึกบูจินกันหลายๆครั้งจะดูเหมือนกัน ท่าที่ฝึกก็เป็นท่าเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับการจู่โจม หรือ ukemi ท่ายืน ท่าพื้นฐาน หรือท่าที่ปรับจากท่าพื้นฐาน (henka) ผู้ฝึกอาจรู้สึกว่าไม่ก้าวหน้าอะไร นั่นไม่ใช่เพราะเราฝึกแต่สิ่งเดิมๆ แต่เป็นเพราะการฝึกของเรายังมาไม่ถึงจุดที่จะเราจะเข้าใจ ผู้สอนวิชาบูจินกันล้วนต้องการให้ลูกศิษย์มีฝีมือที่ก้าวหน้า มันเป็นความภูมิใจที่ได้เห็นลูกศิษย์ของเราพัฒนาฝีมือขึ้นทีละขั้นๆ ไปบนเส้นทางที่ถูกต้อง แต่บางครั้งการเร่งรัดก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำได้ คุณคงไม่สามารถขี่จักรยานได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ขึ้นนั่งบนอานจักรยาน คุณคงไม่สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่การลงน้ำครั้งแรก คุณคงไม่สามารถเข้าถึงปฐมฌานในการนั่งสมาธิครั้งแรก การฝึกวิชาของบูจินกันต้องอาศัยความอดทน ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป หากโดดข้ามขั้นเร็วจนเกินไปในขณะที่พื้นฐานยังไม่แข็ง จะทำให้ไม่สามารถฝึกได้ดีในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้บางครั้งคุณอาจต้องรอให้ร่างกายของคุณลืมสิ่งที่ผิดทิ้งไปก่อน เพื่อให้ร่างกายสามารถจดจำสิ่งที่ถูกเข้าไปได้ หลายครั้งที่ผมพยายามบอกลูกศิษย์ว่าจะต้องยืนอย่างไรจึงจะถูกต้อง ลูกศิษย์บางคนก็เหมือนจะเข้าใจ แต่พอผ่านไป 5 …

สำหรับบูจินกันแล้ว ฝึก อุเคะมิ มา 10 ปีก็ยังน้อยไป

อุเคะมิในบูจินกัน ผมเคยได้ post ถึงความสำคัญของการฝึกอุเคะมิไปแล้ว แต่วันนี้จะขอ post เพิ่มอืกครั้ง คำว่า “อุเคะมิ” หากแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า “การรับการกระทำ” ในบูจินกัน การฝึกอุเคะมิจะหมายถึงการฝึกรับเทคนิคของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น การม้วนหน้า การม้วนหลัง การตบเบาะ เป็นต้น การฝึกอุเคะมินับเป็นการฝึกพื้นฐานที่สุดซึ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มจะฝึกบูจินกันควรฝึกฝนเป็นอันดับแรกเพื่อให้สามารถฝึกได้อย่างปลอดภัย แต่ผู้ที่ฝึกมานานแล้วก็ยังคงต้องฝึกต่อไป ทำไมเหรอครับ วันนี้ผมมีประสพการณ์ตรงจะมาเล่าให้ฟังครับ อุเคะมิกับการฝึกจริง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาระหว่างที่ผมเข้าฝึกตามปกติ อาจารย์ก็ได้เรียกผมไปเป็น อุเคะ หรือเป็นคู่ซ้อมเพื่อแสดงเทคนิคให้คนในห้องดู ถ้ามองโดยทั่วไปแล้วมันจะเป็นเทคนิคที่อาจารย์ได้เคยสอนพวกเรามาหลายครั้งมากๆแล้ว ซึ่งผมคิดว่าผมน่าจะสามารถเอาตัวรอดได้ทางเทคนิคนี้ การเอาตัวรอดจากท่านี้ฟังดูแล้วไม่มีอะไรแค่ม้วนหน้าให้หน้าไม่ทิ่มพื้นก็พอแล้ว …