บทความ

ในบูจินกัน ลูกศิษย์ (Deshi;弟子) แตกต่างจากนักเรียน (Gakusei; 学生) อย่างไร

 ลูกศิษย์ (Deshi;弟子) กับนักเรียน (Gakusei; 学生)       Deshi (弟子) เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า ลูกศิษย์ หรือ disciple ซึ่งแตกต่างจากคำว่า นักเรียน หรือ student จะตรงกับคำว่า Gakusei (学生) ในภาษาญี่ปุ่น ถ้าดูกันตามรากศัพท์แล้ว คำว่า Deshi ประกอบด้วยอักษรคันจิ 2 ตัว คือ 弟 ซึ่งแปลว่า น้องชาย …

สำหรับบูจินกันแล้ว ฝึก อุเคะมิ มา 10 ปีก็ยังน้อยไป

อุเคะมิในบูจินกัน ผมเคยได้ post ถึงความสำคัญของการฝึกอุเคะมิไปแล้ว แต่วันนี้จะขอ post เพิ่มอืกครั้ง คำว่า “อุเคะมิ” หากแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า “การรับการกระทำ” ในบูจินกัน การฝึกอุเคะมิจะหมายถึงการฝึกรับเทคนิคของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น การม้วนหน้า การม้วนหลัง การตบเบาะ เป็นต้น การฝึกอุเคะมินับเป็นการฝึกพื้นฐานที่สุดซึ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มจะฝึกบูจินกันควรฝึกฝนเป็นอันดับแรกเพื่อให้สามารถฝึกได้อย่างปลอดภัย แต่ผู้ที่ฝึกมานานแล้วก็ยังคงต้องฝึกต่อไป ทำไมเหรอครับ วันนี้ผมมีประสพการณ์ตรงจะมาเล่าให้ฟังครับ อุเคะมิกับการฝึกจริง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาระหว่างที่ผมเข้าฝึกตามปกติ อาจารย์ก็ได้เรียกผมไปเป็น อุเคะ หรือเป็นคู่ซ้อมเพื่อแสดงเทคนิคให้คนในห้องดู ถ้ามองโดยทั่วไปแล้วมันจะเป็นเทคนิคที่อาจารย์ได้เคยสอนพวกเรามาหลายครั้งมากๆแล้ว ซึ่งผมคิดว่าผมน่าจะสามารถเอาตัวรอดได้ทางเทคนิคนี้ การเอาตัวรอดจากท่านี้ฟังดูแล้วไม่มีอะไรแค่ม้วนหน้าให้หน้าไม่ทิ่มพื้นก็พอแล้ว …

ตาดู หูฟัง กายสัมผัส รับรู้ด้วยใจกับการถ่ายทอดวิชา 3 อย่างในบูจินกัน

การเรียนรู้ 3 ทาง คนเราสามารถเรียนรู้ได้ 3 ทาง หนึ่งคือทางการมอง (Visual) สองคือการฟัง (Auditory) และสามคือการได้ทดลองทำ (Kinesthetic) เราเรียนรู้คณิตศาสตร์ ศิลปะ และภาษาอื่น ด้วยการดูว่าเขาทำอย่างไร ฟังในสิ่งที่เขาอธิบาย และทดสอบทำด้วยตัวเอง หากเรามีความตั้งใจ เราสามารถเรียนในห้องเรียน ผ่านวีดีโอ หรือระบบ e-learning ก็ได้ ผลที่ได้จะไม่แตกต่างกันนัก   การถ่ายทอดวิชาของบูจินกัน ดูเหมือนว่าถ่ายทอดวิชาในบูจินกันก็มีลักษณะคล้ายๆกัน อาจารย์จะใช้การบอกให้ฟัง ทำให้ดู …

ชัยชนะกับการพ่ายแพ้ในศิลปะต่อสู้

เป้าหมายของศิลปะต่อสู้คืออะไร? เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งสำหรับผู้ฝึกศิลปะต่อสู้ เป้าหมายเป็นเหมือนธงคอยนำทางให้เราที่จะคอยบอกว่าเราฝึกไปเพื่ออะไร บางครั้งเป้าหมายก็คือสายที่คาดอยู่ที่เอว และบางครั้งเป้าหมายก็คือชัยชนะในการแข่งขัน การวัดผลด้วยสายหรือการแข่งขันได้ทำให้แนวคิดของผู้ฝึกเปลี่ยนไปจากแนวคิดดั้งเดิม ในโบราณศิลปะต่อสู้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในสนามรบ ถึงแม้เป้าหมายดั้งเดิมของศิลปะต่อสู้คือการเอาชนะเช่นเดียวกัน แต่แรงจูงใจในการเอาชนะนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้ชนะในสนามรบคือผู้รอดชีวิต ส่วนผู้พ่ายแพ้คือผู้ที่ไม่มีชีวิตรอด เข้าใจความพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตามความเข้าใจเรื่องความพ่ายแพ้ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการฝึกศิลปะต่อสู้ เพราะความเข้าใจเรื่องความพ่ายแพ้จะนำไปสู่ความกล้าที่จะเผชิญต่อความพ่ายแพ้ และความกล้าจะนำมาซึ่งความสงบอันเป็นส่ิงจะเป็นในสนามรบ ผู้ที่ไม่เคยเข้าใจถึงความพ่ายแพ้ระหว่างการฝึกจะขาดความพร้อมเมื่อต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ในสนามรบ เมื่อต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้จริงก็จะรู้สึกตื่นเต้น ประหม่า ลนลาน จนทำอะไรไม่ถูก และท้ายที่สุดก็จะไม่สามารถเอาชีวิตรอดมาจากสนามรบได้ ชัยชนะกับความพ่ายแพ้เป็นกฏของธรรมชาติ ไม่มีใครที่จะชนะตลอดไป และไม่มีใครที่จะพ่ายแพ้ตลอดไป เพื่อนของท่านอาจารย์มะซะอะกิผู้ซึ่งเคยผ่านศึกสงครามมาแล้วได้เล่าว่า สำหรับเขาแล้วไม่มีใครเป็นผู้ชนะในสงคราม ทุกคนคือผู้พ่ายแพ้ ถึงแม้ฝ่ายหนึ่งจะมีชัยในการรบ แต่สงครามอาจไม่จบลง ผู้พ่ายแพ้อาจผันตัวเองเป็นผู้ก่อการร้ายคอยก่อความไม่สงบต่อไป …

เซนไปย์ (รุ่นพี่) เซนเซย์ (อาจารย์) ชิโดชิ (ผู้ชี้ทาง) 
และชิฮัน (บุคคลตัวอย่าง)

Senpai กับ Sensei คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ผู้ฝึกศิลปะต่อสู้ญี่ปุ่นได้ยินอยู่เป็นประจำ พอเริ่มฝึกมาสักพักหนึ่งก็จะเริ่มรู้ว่า เซนไปย์ (Senpai 先輩) มีความหมายว่ารุ่นพี่ ในขณะที่เซนเซย์ (Sensei 先生) มีความหมายว่าอาจารย์ ถ้าดูตามตัวอักษรคันจิแล้วคำว่า sen (先)นั้นมีความหมายว่าก่อนหน้า ส่วนคำว่า pai (輩) นั้นมีความหมายว่า พวกพ้อง ดังนั้น senpai จึงมีความหมายว่า “พวกพ้องรุ่นก่อน” หรือ “รุ่นพี่” นั่นเอง ส่วน คำว่า …