บทความ

บางครั้งต้องช้า บางครั้งต้องเร็ว

จังหวะในบูจินกัน จังหวะ (timing) เป็นหนึ่งในหัวใจที่สำคัญ ในการฝึกศิลปะต่อสู้ ผู้ฝึกมักได้ยินอาจารย์บอกในโรงฝึกเสมอว่าให้ฝึกให้ช้าลง แนวคิดของศิลปะต่อสู้ ไม่ใช่การต่อสู้กันที่ความเร็ว แต่เป็นการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด บางครั้งการเคลื่อนไหวที่เร็วกลับเป็นผลร้าย เพราะอาจเป็นการเคลื่อนไหวไปสู่อันตราย จังหวะที่ดีคือบางครั้งก็ต้องช้า บางครั้งก็ต้องเร็ว ภายใต้บริบทและวัตถุประสงค์ของจังหวะนั้นๆ  เคลื่อนไหวให้พอเหมาะ การเคลื่อนไหวที่เร็วเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกทั่วไปจะสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ผู้ฝึกต้องเคลื่อนไหวให้เร็วกว่าการตอบสนองของคู่ต่อสู้ การออกหมัด ควรจะถึงเป้าก่อนที่เป้าหมายจะขยับหนีไป การทุ่มก็ควรทำก่อนหลังจากคู่ต่อสู้เสียสมดุลแต่ต้องเร็วก่อนที่คู่ต่อสู้จะกลับมามีสมดุลเหมือนเดิม แต่หลายครั้งการเคลื่อนไหวที่เร็วกลับขาดความสมบูรณ์ หลายครั้งจะกลายเป็นข้อผิดพลาดที่ทำให้ท่านั้นผิดไปเลยเพราะมีการข้ามขั้นตอนที่สำคัญไป เช่น ก่อนที่จะดึงคู่ต่อสู้ลง ต้องดันไปทางซ้าย เพื่อให้คู่ต่อสู้เสียสมดุล หากข้ามขั้นตอนที่นี้ไป จะทำให้ดึงคู่ต่อสู้ลงได้ยาก และทำให้ต้องกลับไปใช้แรงเพื่อดึงคู่ต่อสู้ลง หากคู่ต่อสู้ตัวใหญ่กว่าก็จะไม่สามารถดึงคู่ต่อสู้ลงได้ …

ท่าไม้ตาย กับ จุดอ่อน

อยากมีท่าไม้ตายกันมั้ย ในวรรณกรรม “ท่าไม้ตาย” อาจหมายถึงกระบวนท่าอันยอดเยี่ยมมากซึ่งสามารถสยบคู่ต่อสู้ได้อย่างราบคาบ ฟังแล้วดูดี น่าจะฝึกให้มีท่าไม้ตายได้สักท่าสองท่า บูจินกันไม่ได้ให้ความสำคัญกับท่าไม้ตาย ฟังแล้วอาจดูน่าประหลาดใจ แต่ในบูจินกันเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “ท่าไม้ตาย” อ.มะซะอะกิ ฮัทซึมิ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน ได้กล่าวถึง “ท่าไม้ตาย” หรือท่าที่เราได้ฝึกจนชำนาญและมักจะใช้มันอยู่เสมอ (ในหนังสือ Togakure Ryu Ninpo Taijutsu หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ten Chi Jin Ryaku no Maki) ว่า การฝึกท่าหนึ่งๆ …

Kusunoki Masashige ขุนพลที่ได้ชือว่ามีความจงรักภักดีที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

คนที่ไปเที่ยวเมืองโตเกียวคงจะไม่พลาดที่จะไปเยี่ยมชม Imperial Palace ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานี Tokyo Station หากคุณได้เดินไปที่สวนฝั่งตะวันออกของ Imperial Palace คุณจะพบรูปปั้นของคุสุโนะคิ มะสะชิเกะ (Kusunoki Masashige) ซามูไรที่ได้ชื่อว่ามีความภักดีเป็นที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น อนุสาวรีย์ของท่านนับเป็น หนึ่งในสาม อนุสาวรีย์ที่สำคัญที่สุดในโตเกียว (อีกสองแห่งคือ อนุสาวรีย์ของ Saigo Takamori ซามูไร ผู้ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคเมจิ ตั้งอยู่ ณ สวน Ueno Park และ Omura Masujiro บิดาแห่งกองทัพจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ซึ่งต้ังอยู่บริเวณศาลเจ้า ยะสุคุนิ)

องค์ประกอบสำคัญในการฝึกบูจินกัน: อาจารย์ อุเกะ และผู้แปล

ผมเพิ่งกลับจากการฝึกในโรงฝึกใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่นมา และได้ข้อคิดบางอย่างที่จะมาเล่าให้ฟังในวันนี้ ก่อนอื่นต้องบอกว่าบูจินกันเป็นวิชาที่มีชาวต่างชาติฝึกกันเยอะมาก คราวนี้ในโรงฝึก ผู้ฝึกส่วนมากมาจากประเทศอาเจนตินา เท่าที่ทราบยังมีบางส่วนมาจากสเปน อังกฤษ และแคนนาดา  จะมีผู้ฝึกชาวญี่ปุ่นค่อนข้างน้อย และอาจารย์มะซะอะกิ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงฝึกบูจินกัน ก็ได้ทำการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่น ทำให้ต้องมีการแปลคำพูดของอาจารย์เป็นภาษาอังกฤษ และบางครั้งเป็นภาษาสเปน (เนื่องจากอาเจนตินาก็ใช้ภาษาเสปน)  ผมคิดว่าการถ่ายทอดวิชาของอาจารย์ มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สามอย่างด้วยกัน คือ อาจารย์ อุเกะ (คู่ต่อสู้ หรือคู่ฝึกของอาจารย์) และผู้แปล อาจารย์ในโรงฝึกบูจินกัน แน่นอนว่าอาจารย์เป็นหัวใจของการฝึกสอน ปัจจุบันอาจารย์มะซะอะกิมีอายุถึง 88 ปีแล้ว ดังนั้นท่านอาจไม่สามรถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว แต่ท่านสามารถหยุดคู่ฝึกได้โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวมาก …

การเลื่อนระดับในบูจินกัน: มีฝืมือ หรือน่าจะมีฝีมือ

หลายคนที่ทำงานอยู่คงทราบว่า ช่วงนี้ของปีเป็นช่วงเวลาของการขึ้นเงินเดือนและปรับเลื่อนตำแหน่ง ลูกน้องหลายท่านก็คงต้องลุ้นกันตัวโก่งว่าจะได้ปรับขึ้นเงินเดือนแค่ไหน ส่วนเจ้านายหลายท่านก็คงวุ่นวายใจไม่แพ้กันในการขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่งให้กับลูกน้อง  มันทำให้ผมย้อนคิดไปถึงในช่วงนี้ของปีที่แล้ว ซึ่งผมเองก็ลำบากใจในการจัดสรรตำแหน่งให้ลูกน้อง แต่แล้วในที่สุดผมก็ได้เลื่อนตำแหน่งให้ลูกน้องคนหนึ่งที่ไม่ได้มีศักยภาพโดดเด่นอะไรมาก และไม่ได้กระตือรือล้นในการทำงานสักเท่าไหร่ หลายคนคงสงสัยว่าทำไมผมจึงเลื่อนตำแหน่งให้ลูกน้องคนนั้น แม้แต่หัวหน้าผมเองก็ยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผม จริงอยู่ที่ลูกน้องคนนั้นไม่ได้เก่งกว่าคนอื่นเท่าไหร่ และก็ไม่ได้ขยันทำงานมาก แต่การเลื่อนตำแหน่งในครั้งนั้นกลับทำให้เขากระตือรือล้นขึ้นมาก จากคนที่ทำงานไม่ค่อยได้ทำงาน กลับเร่ิมคิด เร่ิมวางแผน และริเร่ิมงานเอง จากคนที่เคยปฏิเสธงานตลอด กลับเริ่มเห็นคุณค่า เริ่มรู้ว่างานใดเป็นงานที่สำคัญต่อองค์กร และเริ่มผลักดันงานด้วยตัวเอง มองย้อนกลับไป ผมคิดว่าการตัดสินใจของผมไม่ได้เลยร้ายเสียทีเดียว  การเลื่อนสายในบูจินกันเองก็จะมีแนวคิดคล้ายๆกัน อาจารย์ของผมเคยเล่าให้ฟังว่าผู้ที่ได้รับการเลื่อนระดับมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกคือผู้ที่มีฝีมือที่คู่ควรกับสาย อีกประเภทหนึ่งคือผู้ที่ฝีมือยังไม่เข้าขั้นนัก แต่น่าจะสามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น …

Shodan: สายดำระดับหนึ่งของบูจินกัน

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 15-20 ปีที่แล้ว ก่อนที่ผมจะเร่ิมฝึกศิลปะต่อสู้  ในตอนนั้นประสบการณ์ของผมเป็นเพียงแค่การได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับศิลปะต่อสู้ จากคนรู้จัก หรือจากในภาพยนตร์เท่านั้น ผมมีความรู้สึกว่า นักศิลปะต่อสู้สายดำนั้น เป็นยอดฝีมือที่ยากต่อการไปถึง ก่อนสายดำในบูจินกัน คือ สายขาว และสายเขียว ผู้ฝึกบูจินกันใหม่จะเริ่มจากการคาดสายขาว ผู้ฝึกเหล่านี้เป็นผู้ที่ยังไม่รู้จักวิชา เข้ามาทดลองฝึกดูว่าถูกกับจริตของตนเองหรือไม่ เราจะเรียกผู้ฝึกในระดับนี้ว่าอยู่ในระดับ Mukyu (無級) ซึ่งมีความหมายว่า “ยังไม่มีระดับ” ช่วงนี้ผู้ฝึกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการฝึกพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกอุเคะมิ (เช่น ม้วนหน้า …

เรื่องของ Ukemi ใน บูจินกัน (อีกครั้ง)

ในการเข้าฝึกสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่อง Ukemi ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เคยได้พูดถึงไปแล้วใน [post] ก่อนหน้านี้ แต่จะขอนำมาพูดซ้ำอีกครั้งในมุมมองที่ต่างไป ในภาษาทั่วไป Ukemi หมายถึงรูปของคำกริยาถูกกระทำ หรือ passive voice ในภาษาอังกฤษ เช่น ถูกจับ ถูกต่อย ถูกทุ่ม เป็นต้น ในศิลปะต่อสู้ Ukemi หมายถึงศาสตร์แห่งการเอาตัวรอดเมื่อถูกจู่โจม ส่วนคำว่า Uke จะหมายถึงฝ่ายที่เป็นผู้รับการจู่โจม ในขณะที่คำว่า Tori หมายถึงผู้ที่จู่โจม  Ukemi ใน …

คำกล่าวในบูจินกัน “Ten Thousand Changes, No Surprise”

คำกล่าวของ อ.มะซะอะกิ ฮัทซึมิ อาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน   ประโยคนี้เป็นประโยคที่ อ.มะซะอะกิ อาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน ได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ในการสอน ประโยคนี้ถ้าแปลตรงตัว ก็จะหมายความว่า “การเปลี่ยนแปลงนับหมื่น ก็ไม่ทำให้รู้สึกตระหนก” ประโยคนี้ฟังดูแล้วยาก บางคนอาจสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือเปล่า ต้องเป็นยอดมนุษย์เท่านั้นถึงจะทำได้กระมัง อันที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ และเราก็ทำมันอยู่เป็นประจำ ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ คนเรามักไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง แต่ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราได้พบเห็นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสภาพจากหลับไปเป็นตื่น จากเดินเป็นหยุดเดิน หรือการหายใจเข้าเป็นหายใจออก อย่างที่หลักไตรลักษณ์ข้อแรกในพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น “อนิจจัง” หรือ “ไม่เที่ยง” สิ่งเดียวที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือความเปลี่ยนแปลง …

3 แนวคิด กับ บูจินกัน และโรงเรียนทางเลือก

วันนี้ผมได้มีโอกาสไปฟังการบรรยายเรื่องการศึกษาแนววอลล์ดอล์ฟ ซึ่งเน้นการเรียนรู้ชีวิตมากว่าการเรียนในห้องเรียน (การเรียนแผนปัจจุบัน) วิทยากรได้กล่าวถึงแนวคิดอยู่ 3 ข้อ ซึ่งผมคิดว่ามีส่วนคล้ายกับการฝึกวิชาของบูจินกัน 1. การพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอในบูจินกัน การเรียนในระบบวอลล์ดอล์ฟนั้นจะไม่เหมือนการเรียนในระบบสามัญ ซึ่งทุกอย่างจะอยู่ในกรอบ เป็นเรียนตามตำราไปทีละบท มีการสอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน หากสอบผ่านก็จะเลื่อนชั้นขึ้นไป แต่การเรียนในระบบวอลล์ดอล์ฟนั้น ไม่เน้นการสอบแต่เน้นการให้เด็กเรียนรู้ให้เหมาะกับวัยตัวเอง เพื่อให้เด็กก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่แข็งแรง เด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการต่างกัน บางคนอาจจะอยู่ชั้น 1 เป็นเวลานาน จึงจะผ่านไปถึงชั้น 2 แต่อาจจะข้ามไปชั้น 3 อย่างรวดเร็ว และอาจจะอยู่ชั้น 3 สักพักก่อนจะข้ามไปชั้น 4 …

ไปญี่ปุ่นเพื่อ “ฝึก” บูจินกัน

“บูจินกันเป็นศิลปะต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น หากเป็นไปได้ผู้ฝึกควรจะเดินทางไปฝึกที่ญี่ปุ่น” นี่เป็นคำพูดที่อาจารย์และผู้ฝึกระดับสูงหลายๆท่านมักจะกล่าวอยู่เป็นประจำ ข้อดีของการไปฝึกที่ญี่ปุ่นมีหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการที่ได้ฝึกกับอาจารย์มะซะอะกิโดยตรง ได้รู้จักต้นกำเนิดของวิชา ได้รู้ว่าเขาฝึกกันอย่างไร ได้ “เทน้ำออกจากแก้ว” เพื่อที่จะรับความรู้และทักษะใหม่ๆ และยังมีข้อดีอื่นๆอีกมากมาย ไปญี่ปุ่นทำไม เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมได้อ่านบทความของผู้ฝึกระดับสูงท่านหนึ่ง ท่านรู้สึกว่าอาจมีผู้ฝึกหลายๆคน ที่ไม่ได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อทำการฝึกเป็นหลัก แต่เดินทางไปเพื่อเลื่อนสาย หรือแนะนำตัวเองให้ผู้ฝึกระดับสูงหลายๆ ท่านได้รู้จัก ฟังดูแล้วเหมือนจะไม่เสีหายอะไร แต่ผมคิดว่าการเลื่อนสายและการทำความรู้จักไม่ควรจะเป็นจุดประสงค์หลักที่เราเดินทางไปญี่ปุ่น ประสบการณ์ตรงจากการไปฝึกบูจินกันที่ญี่ปุ่น ในการเดินทางไปฝึกที่ประเทศญี่ปุ่นครั้งล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (ปี 2559) ผมรู้สึกตื่นเต้นเหมือนทุกครั้งที่จะได้เดินทางไปฝึกกับอาจารย์มะซะอะกิซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของบูจินกัน และจะได้ฝึกกับอาจาย์ชิระอิชิ ซึ่งเป็นอาจารย์ของอาจารย์ผมอีกทีหนึ่ง ผมคิดว่าอาจจะดีหากอาจารย์มะซะอะกิ เลื่อนสายให้ผมในการเดินทางของผมในครั้งนี้ แต่ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก …